แนวทางการประกอบอาชีพ "นักเดินเรือ"

ฝ่ายเดินเรือ (Deck)

ทำหน้าที่นำเรือไปสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย การบรรทุกขนถ่ายสินค้าครบ และตรงต่อเวลา ตำแหน่งสูงสุดคือ กัปตันเรือ ใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี (สามารถผันตัวเองมาทำงานบก เช่น ท่าเรือ หรือสายงานผู้บริหาร)

ฝ่ายช่างกล (Engine)

รับผิดชอบเครื่องยนต์กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนภายในเรือทั้งหมด ตำแหน่งสูงสุดคือ ต้นกลเรือใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี (สามารถผันตัวเองมาทำงานบก เช่น ท่าเรือ,อู่ต่อเรือ,อู่ซ่อมเรือ หรือสายงานผู้บริหาร)

หน่วยงานราชการ

กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

หน่วยงานบริษัทเอกชน

บริษัทเรือในและต่างประเทศ(ทำงานระดับนายประจำเรือ) แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล อู่ต่อเรือ และอู่ซ่อมเรือ ท่าเรือสินค้าต่างๆ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (Bachelor of Science Program in Nautical Science)

แผนการศึกษา

รับผิดชอบโดยกลุ่ม วิชาการเดินเรือ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝ่ายเดินเรือ (Deck Department) ศึกษาเน้นหนักในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ การเดินเรือ การปฏิบัติงานสินค้าและการจัดเก็บ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในเรือ การซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ความปลอดภัย รวมถึงกฎหมายและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ (STCW: Navigation on operation & management level: IMO Model Course 7.03 & 7.01)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ (Bachelor of Engineering Program in Marine Engineering)

แผนการศึกษา

รับผิดชอบ โดยกลุ่มวิชาการช่างกลเรือ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฝ่ายช่างกลเรือ (Engine Department) ศึกษาเน้นหนักในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิศวกรรมเครื่องกลเรือ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การซ่อม บำรุงรักษาอุปกรณ์ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในเรือ รวมถึงกฎหมายและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ (STCW: Engineer on operation & management level: IMO Model Course 7.04 & 7.02)

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ Tuition Fees

ค่าเครื่องแบบ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ของใช้ในการศึกษา ค่าหนังสือคนประจำเรือ ค่าถ่ายรูป ค่าหนังสือเรียนวิชาพื้นฐาน ค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีเพื่อทำบัตรประจำตัว ประมาณ 20,000 บาท (ชำระวันทำสัญญาฯ ครั้งเดียว)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละประมาณ 10,000 -20,000 บาท (ตามหลักสูตรที่ศึกษา)

ค่าอาหารและหอพัก ภาคการศึกษาละประมาณ 18,000 บาท (นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ต้องอยู่ประจำหอพัก)

ค่าธรรมเนียมการฝึกอบรมหลักสูตรเสริมประสบการณ์วิชาชีพของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ที่กำหนดในแต่ละหลักสูตร ดังนี้

- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ ประมาณ27,500 บาท
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม เครื่องกลเรือ ประมาณ 15,000 บาท

ค่าประกันอุบัติเหตุปีละประมาณ 1,000 บาท

การฝึกอบรมหลักสูตรเสริมประสบการณ์วิชาชีพ Training Courses

นักเรียนเดินเรือพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรต่อไปนี้ ก่อนฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเรือ
- Personnel Survival Techniques, A-VI/1-1- Personnel Survival Techniques, A-VI/1-1
- Fire Prevention and Fire Fighting, A-VI/1-2- Fire Prevention and Fire Fighting, A-VI/1-2
- Elementary First Aid, A-VI/1-3- Elementary First Aid, A-VI/1-3
- Personal Safety and Social Responsibilities, A-VI/1-4- Personal Safety and Social Responsibilities, A-VI/1-4
- Survival Craft and Rescue Boats (Other Than Fast Rescue Boat), A-VI/2-1- Survival Craft and Rescue Boats (Other Than Fast Rescue Boat), A-VI/2-1
- Advanced Fire Fighting, A-VI/3- Advanced Fire Fighting, A-VI/3
- Medical First Aid, A-VI/4-1- Medical First Aid, A-VI/4-1
- Leadership & Teamwork, A-II/1, A-III/1 and A-III/6- Leadership & Teamwork, A-II/1, A-III/1 and A-III/6
- Seafarers with Designated Security Duties, CH XI-2 of SOLAS 74 as amended, the ISPS Code, and section A-VI/6 of the STCW Code, as amended- Seafarers with Designated Security Duties, CH XI-2 of SOLAS 74 as amended, the ISPS Code, and section A-VI/6 of the STCW Code, as amended
- GOC or ROC, Section, A-IV- Engine Room Resource Management, A-IV/1
- ECDIS Course, A-Il/1, A-Il/2
- Bridge Resource Management, AII/1