ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมเจ้าท่า กระทรวง คมนาคม มีหน้าที่ผลิตคนประจำเรือระดับนายประจำเรือให้มีคุณภาพและ เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชยนาวี รวมทั้งพัฒนาและฝึกอบรม เพื่อเพิ่มวิทยฐานะของคนประจำเรือทุกระดับชั้นให้ได้มาตรฐานสากล ตามอนุสัญญา STCW 1978 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้มีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ.2514

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในครั้งแรก ใช้ชื่อเรียกว่า “โรงเรียนเดินเรือพาณิชย์” เป็นโครงการสร้างชาวเรือชั่วคราว ผลิตนักเรียน เดินเรือระดับนายประจำเรือโดยตรงให้แก่บริษัทไทยเดินเรือทะเลจำกัด โดยใช้หลักสูตรเร่งรัดให้จบภายใน 3 ปี มีนักเรียนในรุ่นแรกจำนวน 18 คน

พ.ศ.2518

เปลี่ยนหลักสูตรจาก 3 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี โดยได้รับความ ร่วมมือจากรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ในการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน มาวางแนวทางและรูปแบบการจัดการศึกษาของสถาบัน

พ.ศ.2521

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ก่อตั้ง “ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ” ขึ้นเป็นการถาวร โดยกรมเจ้าท่าได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อ มาสำรวจจัดทำแผนแม่บทโครงการก่อสร้างที่จังหวัดสมุทรปราการ บนพื้นที่ 25 ไร่ (ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง)

พ.ศ.2525

กรมเจ้าท่าได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ก ทั้งใน เรื่องของการปรับปรุงหลักสูตร โดยส่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ราย มาช่วย วางแผนและปรับปรุงหลักสูตรให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น รวมทั้งยังให้ใช้ เงินกู้ไม่มี ดอกเบี้ยเพื่อจัดจ้างต่อเรือฝึกนักเรียน “วิสูตรสาคร” ขนาดระวางขับน้า 1,089 ตันกรอส ในวงเงิน 38 ล้านเดนนิชโคนเนอร์ (ประมาณ 100 ล้านบาท) เรือ ฝึกลำนี้ได้รับการออกแบบและควบคุมต่อสร้างโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาจาก ประเทศเดนมาร์ก เริ่มต่อสร้างในปี พ.ศ. 2528 ระยะเวลาต่อสร้าง 1 ปี ซึ่งเรือ ฝึกนักเรียนขณะนั้นนับได้ว่าเป็นเรือฝึกที่มีความสมบูรณ์และทันสมัยมากลำหนึ่ง ในกลุ่มประเทศอาเซียน

พ.ศ.2527

มีพระราชกฤษฎีกายกระดับฐานะศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ขึ้นเป็น หน่วยงานระดับกอง โดยยังเปิดทำการศึกษาและฝึกอบรมอยู่ภายในบริเวณกรม เจ้าท่าเช่นเดิม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นการถาวร โดยวิศวกรที่ปรึกษาของไทย ดำเนินการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวน 88 ล้านบาท

พ.ศ.2530

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้ย้ายสถานที่ทำการจากกรมเจ้าท่า มา อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ และได้ทำพิธีเปิด อย่างเป็นทางการ เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2531 ประกอบด้วยอาคารเรียนและธุรการอาคารอเนกประสงค์ โรงฝึกงานอาคารหอพักนักเรียนอาคารบ้านพักข้าราชการท่าเทียบเรือ ถนนภายในและระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น

พ.ศ.2532

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ราย มาให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการกำหนดอุปกรณ์เครื่องช่วยการศึกษาต่าง ๆ

พ.ศ.2541

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีเข้าเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยบูรพา ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การรับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ในสังกัดกรม เจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2541 ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 96 ง หน้า 8 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2541

พ.ศ.2548

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้มีโครงการจัดหาเรือฝึกนักเรียนเดินเรือ พาณิชย์ลำใหม่ “สาครวิสัย” และอาคารเครื่องมือฝึกจำลองการเดินเรือ และช่างกลเรือ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พ.ศ.2552

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 83,980,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนสูง 6 ชั้น พร้อมครุภัณฑ์ จำนวน 1 หลัง โดยแล้ว เสร็จ เมื่อ วันที่ 12 กรกฎาคม 2554

พ.ศ.2558

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 21,000,000 บาท จัดหาครุภัณฑ์หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเรือ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต และหลักสูตร ประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ

พ.ศ.2559

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 1,700,000 บาท ซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบห้องฝึก Global Maritime Distress and Safety System (GMDSS)

พ.ศ.2560

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 14,000,000 บาท
1. จัดหาครุภัณฑ์หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล และหลักสูตรประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ (วิชาการกล)

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 14,000,000 บาท
2. ครุภัณฑ์หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล และหลักสูตรประกาศนียบัตรนายช่างกลเรือ (วิชาไฟฟ้า)

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 35,200,000 บาท
3. ค่าจัดหาอุปกรณ์และติดตั้งทดแทนเครื่องมือ ฝึกจำลองระบบการเดินเรือ

พ.ศ.2561

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 8,000,000 บาท
1. เครื่องมือฝึกจำลองการปฏิบัติงานบนเรือ บรรทุกสินเค้าเทกองเรือคอนเทนเนอร์ เรือ General Cargo เรือโดยสาร เรือเฟอรี

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 12,000,000 บาท
2. จัดหาครุภัณฑ์เครื่องมือฝึกจำลองการ ปฏิบัติงานในเรือที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 8,000,000 บาท
3. จัดหาเครื่องมือฝึกจำลองการดับเพลิงขั้นสูง เสมือนจริง

พ.ศ.2562

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้รับงบประมาณจำนวน 16,000,000 บาท เครื่องมือฝึกจำลองปฏิบัติงานสินค้าเหลวใน ระวางแบบเต็มรูปแบบ (FMLCHS)

เครื่องหมายราชการ

เครื่องหมายศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี เป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ล้อมพังงา ภายในพังงา มีพวงชูชีพซ้อนอยู่บนชูชีพ ด้านบนเป็นชื่อศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีภาษาไทย ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษ (Merchant Marine Training Centre) กลางพังงาเป็นรูป ลูกโลกภายในมีลูกศรชี้โดยรอบ 8 ทิศ ใจกลางของแกนลูกศรเป็นรูปเรือสินค้าเดินทะเล


สีน้าเงิน เป็น สีของพังงา, ตัวอักษรไทย-อังกฤษ และลูกศร
สีฟ้าอ่อน เป็นสีคาดของชูชีพและสีของลูกโลก
สีทอง เป็นสีของช่อชัยพฤกษ์และสีของรุ้งแวงลูกโลก
สีดำ เป็น สีของลายเส้นช่อชัยพฤกษ์

ต้นไม้ประจำศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี Tree of MMTC

ต้นชัยพฤกษ์ (อังกฤษ: Java Cassia, Pink Shower, Apple Blossom Tree, Rainbow Shower Tree; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia javanica) เป็นพรรณไม้ มงคล เป็นต้นไม้แห่งชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งบ่งบอกว่านักเรียนของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีทุกนาย จะประสบความสำเร็จ สามารถชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ทั้งในด้านการเรียนและการทำงาน ทำให้เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านพาณิชยนาวี และช่อชัยพฤกษ์ยังเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องหมายราชการของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีอีกด้วย

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี Holy things of MMTC

พระพุทธวชิรบารมีวารีพิทักษ์ สมาคมนักเรียนเก่าเดินเรือพาณิชย์และสมาคมวิชาชีพชาวเรือไทย ร่วมกับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี จัดพิธีพุทธาภิเษก “พระพุทธวชิรบารมีวารีพิทักษ์” และพระรูปเหมือน “พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์ ” (เสด็จเตี่ย) ในวันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.00–16.00 น. โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นผู้ประกอบพิธีบูชาฤกษ์และถวายเครื่องสักการะ

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขต อุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย)

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม 2423 - 19 พฤษภาคม 2466) ทรงเป็นต้น ราชสกุล “อาภากร” เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า “องค์บิดาของทหารเรือไทย”ใน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสาคัญสำหรับชาวเรือ เพื่อให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้ คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พ.ศ. 2466 ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ไม่นาน ก็ได้กราบบังคมลาออกจากราชการ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ที่จังหวัดชุมพร ทรงถูกฝนประชวรเป็น พระโรคหวัดใหญ่ สิ้น พระชนม์ที่ตำบลทรายรี ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 43 พรรษาทั้งนี้ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ได้กำหนดจัดกิจกรรมน้อมรำลึก ปีละ 2 วัน คือ
- วันน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ในวันที่ 19 ธันวาคม
- วันน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม